วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

ด.ช.สรวิชญ์ บุญลาsorawit2005.blogspot.com                     







ด.ช.สรวิชญ์ บุญลาsorawit2005.blogspot.com
ด.ช.สุพจน์ สว่างศรีsupoj12848-blog.blogspot.com
ปรียานุช มณีโชติpriyanutmanichot.blogspot.com
ปฐมาวดี ตันบริภัณฑ์blogicezy.blogspot.com
ด.ช. ณัฐภูมิ แย้มแก้วnatapoom-blog.blogspot.com
ด.ญ.กิตยากร พิจิตรtonnam6157-blog.blogspot.com
รักชนก ยื่นกระโทกhttps://iamluckchyy.blogspot.com
ณฐมน บัวทองnannamene.blogspot.com
กิตติภพ ทองอินทร์kittipop-blog.blogspot.com
ฐิติกร บรรจบปีthitikorn-blog.blogspot.com
ชมพูนุท ซุยยะกิจhttps://chompunut-blog.blogspot.com
วรวรรณ บ้านโก๋worawan-blog.blogspot.com
ด.ช.อรรณพ อึ้งแย้มanop-blog.blogspot.com
หนึ่งฤทัย ปิ่นทองneungrethay-blog.blogspot.com
กันต์กมล วงค์วีkankamon-blog.blogspot.com
วชิราภรณ์ แสงหอมwachiraporn-blog.blogspot.com
ด.ช.ณัฐฐิวรรธน์ สุทธิวงศ์ham34566.blogspot.com
ด.ญ.รักษิณา มาฆะนุกิจkhawraksina.blogspot.com
แพรวนภา เหมาะสมัยpaewnapa22-blog.blogspot.com
ด.ญ.นรภัทร เสมอใจsamerjai17-blog.blogspot.com
สุกัญญา โสภาsukanya-blog27.blogspot.com
ด.ญ. มนัสนันท์ เหมือนชูmanasanan-blog.blogspot.com
ด.ช.ภูมิศักดิ์ เครื่องพาทีhttps://phumsak-blog.blogspot.com
วิยะดา ศรีลานันท์wiyada-blog.blogspot.com
ปนัดดา ทองชมภูนุชpanatda-blog13.blogspot.com
รัฐธิญา คำช่วงaom48.blogspot.com
ภัทรพล ชมภูputtarapon002.blogspot.com
ด.ญ.มลธิชา มั่งมีผลmonticha236-blog.blogspot.com
เด็กหญิงณวิภา เสาธงpreem.blogspot.com
ด.ช.พชรพงศ์ บัวควานicezyfpv.blogspot.com
ด.ญ.ศศิประภา ใจซื่อsasipapha30-blog.blogspot.com
ด.ญ.จิดาภา พวงสุวรรรณ์mi0890227876.blogspot.com
เยาเรศ คำฐีyawaret.blogspot.com
ธัญชนก บัวพรมthanchanok170306.blogspot.com
ชัญญา หนูทองchanyahuntong.blogspot.com
ปนัดดา ลักษณะโตpanadda-blog.blogspot.com
กันตนา อุ่นใจkantana-blogger.blogspot.com
นันทพงศ์ จอมดวง nantapong-blog.blogspot.com
ปภังกร หงษ์ทองleesaw123ze.blogspot.com
ทองทิพย์teepee-tip.blogspot.com
ปัญญาพรรณ ลุนไธสงpanyaparn.blogspot.com
ศศิกานต์ ม่วงโพธิ์เงินsasikan2505.blogspot.com
เด็กหญิงณภัทร ศรีผ่องใสnaphat-blog.blogspot.com
ชุติมา อึงฤทธิเดชchutiimauengritthidet.blogspot.com
ด.ช.ฮัสซัน อัลบูดาจิhassun-blog.blogspot.com
มทินา กระแสเทพdahla003.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชา พระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนา  เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย1 นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4

ความรู้วิชา คริสต์ศาสนา


ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ  ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก

ความรู้วิชา EIS

ประวัติศาสตร์ เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษา

ความรู้วิชา ดรตรี-นาฏศิลป์

ดรตรี คือ เสียงสูงต่ำที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง, เครื่องบรรเลงให้เกิดเสียงสูงต่ำเป็นท่วงทำนอง สร้างความเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์เช่น รัก โศก รื่นเริง
นาฏศิลป์ คือ  การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ

ความรู้วิชา ศิลปะ

ศิลปะ    คือ   การเลียนแบบธรรมชาติ   การแสดงออกของบุคลิกภาพทางอารมณ์ของมนุษย์    การสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ การระบายความปรารถนาในใจของศิลปินออกมา      การแสดงออกของผลงานด้านต่างๆที่สร้างสรรค์
จากความหมายและคำนิยามทางศิลปะที่ได้นำมากล่าวอ้างไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลงานที่เรียกกันว่าเป็น    “ศิลปะ”จะมีทัศนะที่แตกต่างกันออกไป ยากที่จะหาข้อสรุปที่แน่นอนหรือกำหนดลักษณะของงานศิลปะได้โดยในแต่ละยุคสมัยท่านผู้รู้ได้กำหนดความหมายของศิลปะไปตามบริบทของตนเอง  ซึ่งย่อมจะมีความแตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับกันในประการหนึ่งว่า  ผลงานที่ถือว่าเป็นงานศิลปะจะต้องเป็นงานที่มีการสร้างสรรค์ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเองกล่าวคือ  “จะต้องมีมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ   
 ส่วนคำว่า  ทัศนศิลป์  ( visual  art )  เป็นศัพท์ที่ได้รับการบัญญัติขึ้นใช้ในวงการศิลปะเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จุดมุ่งหมายที่บัญญัติศัพท์“ทัศนศิลป์” ขึ้นมา ก็เพื่อจำแนกความแตกต่างหรือแยกลักษณะการรับรู้ของมนุษย์ทางด้านศิลปะให้มีความชัดเจนมากขึ้น  ทั้งนี้เพราะแต่เดิมนั้นผลงานทางด้านทัศนศิลป์จะถูกผนวกรวมเข้าและถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน   “วิจิตรศิลป์”   ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่างานทัศนศิลป์จะต้องเป็นผลงานที่มีความละเอียดประณีตบรรจง  และมีความงดงามเท่านั้น